การออกหนังสือรับรองเนื้อหาในเอกสาร ที่สำนักงานตัวแทนทางการทูต

การออกหนังสือรับร้องเนื้อหาในเอกสาร อาจจะเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในเอกสารที่เหมือนกับเอกสาร หรือ เป็นเพียงบางส่วน หรือ เป็นการคัดลอกหรือตัดตอนมา โดยหนังสือรับรองจะเป็นเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเอกสารเท่านั้น แต่ไม่สามารถรับรองรูปแบบความถูกต้องของเอกสาร หรือ คุณสมบัติของเอกสารนั้น ๆ ได้

 

สถานเอกอัครราชทูตจะออกหนังสือรับรองเนื้อหาในเอกสารตามการพิจารณาของสถานเอกอัครราชทูต โดยมักจะมีค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือรับรอง อัตราค่าบริการ 

 

หนังสือแจ้งขอจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย (Form for marriage notification)

กฎหมายของแต่ละประเทศมีการกำหนดเงื่อนไขและเอกสารที่จำเป็นในการขอจดทะเบียนสมรสที่แตกต่างกันออกไป โดย “การตรวจสอบสถานภาพการสมรส (Examination of impediments to marriage)” จะต้องดำเนินการ ณ ประเทศที่คู่สมรสประสงค์ที่จะทำการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

หากบุคคลที่มีสัญชาติหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศฟินแลนด์ มีความประสงค์จะจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย กรุณาทำการติดต่อหน่วยงานราชการที่มีอำนาจ (สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอในประเทศไทย) เพื่อสอบถามเกี่ยวกับเอกสารทั้งหมดที่ชาวต่างชาติจำเป็นต้องใช้ในการขอจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย โดยหลักแล้ว คู่สมรสจะต้องแสดงหลักฐานที่ยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำการจดทะเบียนสมรสหรือทะเบียนคู่ชีวิต (ตามกฎหมาย Common law) อยู่ก่อนแล้ว

ในการนี้ บุคคลที่มีสัญชาติหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศฟินแลนด์ สามารถดำเนินการขอ “หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสของฟินแลนด์” เพื่อใช้ยืนยันว่าบุคคลดังกล่าวสามารถจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศได้ตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการสมรสของประเทศฟินแลนด์ โดยทำการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานทะเบียนราษฎร์ของประเทศฟินแลนด์ (Digital and Population Data Services Agency) ทางเวบไซต์นี้ https://dvv.fi/en/a-certificate-of-the-right-granted-by-the-finnish-legislation-to-enter-a-marriage-in-a-foreign-country(เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น) หรือการยื่นคำร้องต่อโบสถ์ของบุคคลที่มีสัญชาติหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศฟินแลนด์ โดย “หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสของฟินแลนด์” นั้น จะต้องเป็นเอกสารที่มีการกำหนดคำแปลของข้อความไว้หลายภาษา และเป็นเอกสารฉบับจริงที่มีการลงลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่แล้วเท่านั้น (ไม่สามารถใช้สำเนาหรือภาพถ่ายได้) โดยเอกสารดังกล่าวมีอายุการใช้งานทางกฎหมายเป็นเวลา สี่เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ

ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยไม่อยู่ในกลุ่มภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการยกเลิกข้อกำหนดของการนิติกรณ์สำหรับเอกสารมหาชนจากต่างประเทศ (The Hague Apostille Convention) เอกสารดังกล่าวจึงจะต้องผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสารที่ 1) กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ และ 2) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ตามลำดับ ก่อนที่เอกสารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายในประเทศไทยได้ โดยสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ ประจำประเทศไทย ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการรับรองนิติกรณ์เอกสารที่ออกโดยหน่วยงานของประเทศฟินแลนด์แทนได้

ในกรณีที่หน่วยงานไทยร้องขอเอกสารเพิ่มเติมที่ต้องออกโดยสถานทูตฟินแลนด์ฯ ประจำประเทศไทย เพื่อประกอบการขอจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย บุคคลที่มีสัญชาติหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศฟินแลนด์ จะต้องติดต่อแผนกกงสุล สถานทูตฟินแลนด์ฯ เพื่อทำการนัดหมายทำ “หนังสือแจ้งการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย (Marriage notification)” และขอให้เจ้าหน้าที่กงสุลทำการรับรองลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าว (Authentication of signature) โดยกรุณานำ 1) หนังสือรับรองสถานภาพการสมรสของฟินแลนด์ตัวจริง และ 2) หนังสือเดินทาง มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่กงสุลในวันนัดหมาย

นอกจากนี้ หากหน่วยงานไทยกำหนดให้ต้องมีการแปลเอกสารดังกล่าวเป็นภาษาไทย กรุณาติดต่อกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทยเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม นอกจากนี้ กรุณาสอบถามโดยตรงจากหน่วยงานไทยที่มีอำนาจที่ท่านประสงค์จะไปจดทะเบียนสมรสว่าจะต้องยื่นเอกสารอื่นใดเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อดำเนินการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย นอกเหนือไปจากหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสของฟินแลนด์ที่ได้ผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสารจากประเทศฟินแลนด์มาแล้วข้างต้น

หมายเหตุ: ภายหลังการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย บุคคลที่มีสัญชาติหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศฟินแลนด์ มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสถานภาพการสมรสที่เกิดขึ้นนอกประเทศฟินแลนด์ ต่อหน่วยงานทะเบียนราษฎร์ฟินแลนด์ โดยจะต้องนำทะเบียนสมรสไปขอรับรองนิติกรณ์เอกสารที่ 1) กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย และ 2) สถานทูตฟินแลนด์ฯ ประจำประเทศไทย ตามลำดับ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อเรื่องการรับรองนิติกรณ์เอกสาร บนเวบไซต์ของสถานทูตฟินแลนด์ฯ นี้

 

หนังสือรับรองรายได้

สถานเอกอัครราชทูตสามารถออกเอกสารรับรองรายได้ของบุคคล จากเอกสารรับรองเงินเดือนล่าสุดที่เป็นที่เชื่อถือได้ หรือ เอกสารที่ออกโดยบริษัทประกันบำนาญ ที่เป็นภาษาอังกฤษ สถานเอกอัครราชทูตจะไม่สามารถตรวจสอบความเป็นจริงเกี่ยวกับเงินเดือนจากผู้ออกเอกสาร หรือสิทธิ์ในการออกเอกสารเหล่านี้ได้ 

บุคคลที่จะขอวีซ่ามีถิ่นพำนักในประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้ข้อมูลต่าง ๆ แก่หน่วยราชการที่มีอำนาจด้วยตนเองเสมอ

 

หนังสือรับรองสถานะ

ในหนังสือรับรอง จะไม่รับรองความถูกต้องของสถานะ คุณสมบัติ หรือสถานภาพทางกฎหมาย

สถานเอกอัครราชทูตจะออก เอกสารรับรองการออกหนังสือเดินทางใหม่ ให้ตามคำขอ โดยจะเป็นการยืนยันจากข้อมูลที่ระบุในหนังสือเดินทางในขณะที่มีการออกหนังสือเดินทางว่าบุคคลนั้นมีสัญชาติฟินแลนด์ เอกสารรับรองนี้จะไม่มีค่าใช้จ่าย

มักจะมีการขอหนังสือรับรองสถานภาพที่แท้จริง จากสถานเอกอัครราชทูต ซึ่งหน่วยราชการของประเทศนั้น ๆ ที่เหมาะสมที่สุดจะออกหนังสือรับรองให้ ให้ติดต่อหน่วยราชการที่มีอำนาจ เพื่อขอ หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ เป็นต้น