ประวัติศาสตร์ทางการทูตในประเทศไทย

เรียบง่าย และ สงบ ประเทศไทย หรือ ในครั้งนั้นเป็นที่รู้จักในนาม สยาม ได้ทำการรับรองความเป็นรัฐเอกราชของประเทศฟินแลนด์เมื่อวันที่ 9.10.1919 ในครั้งนั้นทูตไทยประจำกรุงกรุงปารีสได้ถ่ายทอดเรื่องการรับรองรัฐเอกราชของฟินแลนด์ไปยังรัฐบาลภายใต้พระมหากษัตริย์เป็นประมุข 

Gustaf John Ramstedt ซึ่งในขณะนั้นกำลังเดินทางบนเรือชื่อ Ijo-Maru มุ่งหน้าไปยังประเทศญี่ปุ่น ได้รับโทรเลขจากรัฐมนตรีต่างประเทศ Rudolf Holsti โดยเขาถูกมอบหมายให้เดินทางไปเยือนสยามเพื่อสร้างสัมพันธไมตรี เพื่อการรับรองความเป็นเอกราชของประเทศ Ramstedt เปลี่ยนเรือที่สิงคโปร์ การเดินทางดำเนินต่อไปโดยเรือชื่อ Kuala ไปที่แหลมมะละกา ผ่านไปทางชายฝั่งตะวันออกไปยังกรุงเทพฯ 

เมื่อไปถึงจุดหมายที่กรุงเทพฯ Ramstedt เข้าพักที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ซึ่งเป็นบ้านพักสำหรับนักเดินทาง  ภารกิจแรกของเขา คือการเตรียมหนังสือโต้ตอบทางการทูตเกี่ยวกับการเดินทางมาถึงสยามไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็ขอเข้าเฝ้ารัฐมนตรีต่างประเทศ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ อนุมัติให้เข้าเฝ้าฯ ในเวลาตีสอง Ramstedt เล่าเหตุการณ์ดังนี้: "ข้าพเจ้าเตรียมการอย่างละเอียดในภารกิจทางการทูตแรกของข้าพเจ้า โดยสวมชุดสำหรับไปงานเฉลิมฉลอง, เสื้อโค้ทมีชายยาวด้านหลัง และ หมวกผ้าไหมทรงสูง ในขณะที่กำลังแต่งตัว ข้าพเจ้าก็เริ่มสงสัยว่าจะปฏิบัติภารกิจได้ลุล่วงหรือไม่ ในอากาศที่ร้อนอบอ้าว และ ชื้นเช่นนี้ข้าพเจ้าก็สังเกตเห็นอย่างรวดเร็วว่า เสื้อโค้ทมีชายยาวนั้นไม่เหมาะกับข้าพเจ้าเลย --- ในห้องรับรองของกระทรวงการต่างประเทศ ชะตากรรมของข้าพเจ้าก็ลงเอยในที่สุด: พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสด็จมาต้อนรับด้วยพระพักตร์ที่เป็นมิตรและแย้มพระสรวล แต่แล้วสิ่งที่ข้าพเจ้าสังเกตเห็นเป็นอันดับแรกคือ – ท่านอยู่ในฉลองพระองค์ผ้าไหมสีขาว และ พระสนับเพลา (กางเกง) สั้นระดับเข่า ”พวกเราทักทายกันอย่างจริงใจ และ สนทนาแลกเปลี่ยนกันพอเป็นพิธีเกี่ยวกับการเริ่มมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อกันมากขึ้นของทั้งสองประเทศต่อจากนี้ และถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสองประเทศที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต” 

ประเทศฟินแลนด์และประเทศไทย เริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในวันที่ 17.6.1954 ในขณะดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูต ณ กรุงลอนดอน ทูตฟินแลนด์ ประจำกรุงนิวเดลี Hugo Valvanne ถูกแต่งตั้งให้รับหน้าที่ทูตในกรุงเทพฯด้วยในวันที่ 21.6.1954 ในปีค.ศ. 1974 มีการแต่งตั้งการรับหน้าที่ทูตกรุงเทพฯ จากการโอนจากจาการ์ต้า และ ในปี ค.ศ. 1983-1986 จากกรุงมะนิลา 

การท่องเที่ยว และ นโยบายทางเศรษฐกิจการค้า 

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศฟินแลนด์และประเทศไทยเริ่มจะสดใสขึ้นอย่างมากในช่วงปลายปีทศวรรษ 1960 ในช่วงนั้นที่กรุงเทพฯ มีข้าราชการของฝ่ายส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างประเทศของฟินแลนด์ปฏิบัติหน้าที่อยู่เป็นครั้งคราว และในทศวรรษที่ 1970 เริ่มมีการตอบรับการท่องเที่ยวจากประเทศฟินแลนด์ไปยังประเทศไทย หรือถือเป็นช่วงของการพัฒนาแบบช้า ๆ  และมีการก่อตั้งสำนักงานตัวแทนทางการทูตถาวรภายใต้การบริหารของอุปทูตในปี ค.ศ. 1980 ความสนใจของประเทศฟินแลนด์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอันดับแรกมุ่งไปที่การสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจ แต่สภาวะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย ทำให้กรุงเทพฯ เป็นสถานที่ที่น่าสนใจในการติดตามพัฒนาการทางการเมืองด้วย ในวันที่ 1.1.1986 เป็นต้นไปได้เริ่มขยายหน้าที่ในการปฏิบัติงานของคณะทูต โดยเพิ่มสถานะเป็นสถานเอกอัครราชทูตภายใต้การบริหารของเอกอัครราชทูต

สำหรับประเทศฟินแลนด์แล้ว ประเทศไทยมิได้เป็นเพียงจุดหมายในการส่งออกอันดับที่สามในภูมิภาคเอเชีย แต่ถือเป็นคู่ค้าสำคัญต่อ EU ในหลาย ๆ ด้าน และในระดับโลก การท่องเที่ยวที่ขยายตัวมากขึ้น และ เส้นทางการบินที่สม่ำเสมอของสายการบินฟินแอร์ ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวฟินแลนด์เดินทางไปเยือนประเทศไทยทุกปีมากกว่าปีละ 100 000 คน ประธานาธิบดี Tarja Halonen ได้เดินทางไปเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเพื่อร่วมประชุมสหประชาชาติในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2002 และมีการเริ่มประเพณีการเยือนระหว่างสองประเทศอย่างกระตือรือร้นต่อมา 

ข้อความ: บริการข้อมูล UM 

นักการทูต และ เอกอัครราชทูตของฟินแลนด์ในกรุงเทพฯ 

• Gustaf John Ramstedt, อุปทูต (กรุงเทพฯ/โตเกียว) 1919-1929

• Hugo Valvanne, ทูต (กรุงเทพฯ/นิวเดลี) 1954-1956

• Aaro Pakaslahti, ทูต (กรุงเทพฯ/นิวเดลี) 1958-1959

• Sigurd von Numers, ทูต (กรุงเทพฯ/นิวเดลี) 1959-1961

• Veli Helenius, ทูต (กรุงเทพฯ/นิวเดลี) 1961-1964 เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ/นิวเดลี) 1964

• Asko Ivalo, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ/นิวเดลี) 1964-1968

• Fredrik Schreck, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ/นิวเดลี) 1968-1974

• Matti Cawén, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ/จาร์การ์ตา) 1975-1977

• Tuure Mentula, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ/จาร์การ์ตา) 1977-1982

• Klaus Snellman, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ/มะนิลา) 1983-1984

• Pasi Rutanen, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ/มะนิลา) 1984-1986

• Benjamin Bassin, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 1986-1990

• Eero Salovaara, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 1990-1995

• Tauno Kääriä, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 1995-2000

• Heikki Tuunanen, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 2000-2005

• Lars Backström, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 2005-2009

• Sirpa Mäenpää, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 2009-2013

• Kirsti Westphalen, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 2013-2016

• Satu Suikkari-Kleven, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 2016-2020

• Jyri Järviaho, เอกอัครราชทูต (กรุงเทพฯ) 2020-