ทำความเข้าใจ กับคำแนะนำของเราก่อนการเดินทางของคุณไปยังประเทศไทย

หน่วยราชการของประเทศนั้น ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบในสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ  ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพวกเขา แจ้งเรื่องการเดินทางของคุณกับกระทรวงการต่างประเทศ ของฟินแลนด์ หากยังไม่ได้ทำการแจ้งก่อนเริ่มออกเดินทาง 

ในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือโดยเร่งด่วน ให้ติดต่อ หน่วยงานราชการด้านการกู้ภัยของแต่ละประเทศ (ตำรวจ, ตำรวจดับเพลิง, รถพยาบาล)

ติดตามจากสื่อท้องถิ่น รวมทั้งเวปไซต์ของสำนักงานตัวแทนทางการทูตของฟินแลนด์และ เวปไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ  รวมทั้งโซเชียลมีเดียต่าง ๆ 

ตามกฎหมายว่าด้วยแพคเกจท่องเที่ยว ระบุว่า บริษัทท่องเที่ยวผู้จัดการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นอันดับแรก ต่อการจัดการด้านการรักษาพยาบาลหรือการจัดการด้านการเดินทางกลับก่อนกำหนดแก่ผู้เดินทาง รวมทั้งการตรวจสอบเกี่ยวกับอาชญากรรม หรือ ความเสียหายและการปฏิบัติที่จำเป็นอื่น ๆ 

จำกัดการสัญจรที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ หากเป็นไปได้ ให้ออกจากพื้นที่วิกฤต หรืออย่างน้อยก็ควรพยายามจะพาสมาชิกในครอบครัวของคุณออกไปจากพื้นที่นั้น หากคุณอาศัยอยู่ในประเทศเป็นการถาวร ให้แจ้งเรื่องการย้ายออกจากพื้นที่วิกฤตของคุณ แก่สำนักงานตัวแทนทางการทูต

สำนักงานตัวแทนทางการทูตของประเทศกลุ่มนอร์ดิก และ ประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม EU มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือบุคคลสัญชาติฟินแลนด์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หากในเมืองหรือประเทศนั้นไม่มีสำนักงานตัวแทนทางการทูตของประเทศฟินแลนด์ 

เตรียมพร้อมในการ

1. 

แจ้งเกี่ยวกับการเดินทาง ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือวิกฤต กระทรวงการต่างประเทศสามารถติดต่อผู้แจ้งเกี่ยวกับการเดินทางได้ 

2. 

อ่าน ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง

3. 

อ่านแผนการเตรียมความพร้อมของสำนักงานตัวแทนทางการทูต

ข้อมูลการเดินทาง จะมีการเผยแพร่เกี่ยวกับประเทศที่ประเทศฟินแลนด์มีสำนักงานตัวแทนทางการทูต หรือ ประเทศที่สำนักงานตัวแทนทางการทูตสามารถหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ หากจุดหมายในการเดินทางของคุณไม่มีประกาศข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง ให้ตรวจสอบ ว่าประเทศอื่น ๆ แนะนำอย่างไร  

 

ผู้เดินทางมีหน้าที่รับผิดชอบตนเอง

ผู้เดินทางจะต้องรับผิดชอบการตัดสินใจในการเดินทาง และ ความปลอดภัยของตนเอง กระทรวงการต่างประเทศจะให้คำปรึกษาและให้บริการเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง ในประกาศข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางของกระทรวงการต่างประเทศ จะมีรายละเอียดพื้นฐาน เกี่ยวกับสถานการณ์ความปลอดภัยโดยทั่วไป และ สภาวะของพื้นที่ท้องถิ่น ที่อาจจะมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้เดินทางได้ อิสรภาพทางการสัญจร ถือเป็นสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญของฟินแลนด์ และกระทรวงการต่างประเทศก็ไม่สามารถห้ามการเดินทางของใครได้ ถึงแม้ว่าประเทศจุดหมายอาจตกอยู่ในภาวะสงคราม,อยู่ในฤดูแผ่นดินไหว หรือพายุเฮอริเคน ในทางกลับกันหน่วยราชการของประเทศจุดหมายสามารถออกคำสั่งจำกัดหรือห้ามการเดินทางเข้าประเทศนั้น ๆ ได้

ศึกษาคำแนะนำของเราก่อนการเดินทางของคุณมายังประเทศไทย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก  ประกาศข้อมูลการเดินทาง

1. เมื่อเกิดเหตุวิกฤต ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยราชการท้องถิ่นและมัคคุเทศก์ และติดตามสื่อท้องถิ่นและ การอัพเดทข้อมูลทางโซเชียลมีเดียของสถานเอกอัครราชทูต

2. ตรวจสอบแต่เนิ่น ๆ ว่าหนังสือเดินทางของคุณมีอายุอย่างน้อยหกเดือนหลังการสิ้นสุดการเดินทาง ตรวจสอบสภาพของหนังสือเดินทางด้วย ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทาง และ/หรือ สแกนและส่งไปที่อีเมลของคุณ เก็บหนังสือเดินทางและของมีค่าอื่น ๆ ไว้ในตู้นิรภัย ไม่แนะนำให้ทิ้งหนังสือเดินทางฝากไว้เป็นการมัดจำกรณีที่เช่ายานพาหนะ เป็นต้น  

3. ซื้อประกันการเดินทางที่เหมาะสม ก่อนการออกเดินทาง และตรวจสอบเงื่อนไขร่วมกับบริษัทประกัน การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนของประเทศไทยมีมาตรฐานที่ดี และมีราคาสูง ทั้งนี้ อาจจะไม่มีการเริ่มการรักษาพยาบาลจนกว่าบริษัทประกันจะยืนยันการชำระเงิน หรือ มีการชำระเงินสดล่วงหน้า การบินจากประเทศไทยไปรักษาที่ประเทศฟินแลนด์อาจต้องใช้เงินถึง 100 000 ยูโร

4. ในประเทศไทยมีภัยธรรมชาติ และ เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ขอแนะนำให้ทำการแจ้งเกี่ยวกับการเดินทาง ก่อนออกเดินทาง การแจ้งเกี่ยวกับการเดินทาง หมายถึง การแจ้งรายละเอียดส่วนตัว และ รายละเอียดการติดต่อระหว่างที่กำลังเดินทางเพื่อการติดต่อในกรณีฉุกเฉินและวิกฤต สามารถแจ้งรายละเอียดออนไลน์ หรือ การส่งข้อความทางโทรศัพท์ ขอแนะนำให้แจ้งรายละเอียดการติดต่อ, แผนการเดินทาง และรายละเอียดการประกันภัย และ หนังสือเดินทางไว้กับบุคคลที่สามารถติดต่อได้ในประเทศที่พำนักอยู่ด้วย ควรบันทึกรายละเอียดการติดต่อกับบุคคลที่สามารถติดต่อได้ ไว้ในโทรศัพท์มือถือ, กระเป๋าสตางค์ หรือ อีเมล ด้วยการระบุ อักษร ICE (in case of emergency-ในกรณีฉุกเฉิน)

5. ผู้ถือหนังสือเดินทางของประเทศฟินแลนด์ไม่จำเป็นต้องขอวีซ่าก่อนการเดินทางเข้าประเทศไทย หากมีคุณสมบัติในการเข้าประเทศครบถ้วน จะมีการลงตราประทับในหนังสือเดินทางของคุณขณะเดินทางมาถึง ซึ่งจะระบุว่า คุณจะสามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยได้นานเท่าใด เมื่อเดินทางมาถึงที่ท่าอากาศยานการบินระหว่างประเทศ จะสามารถอนุมัติการพำนักอยู่ในประเทศได้ไม่เกิน 30 วัน และสามารถอนุมัติที่เขตชายแดนของประเทศได้ไม่เกิน 15 วัน ให้ตรวจดูรายละเอียดที่ระบุในตราประทับ ตรวจดูว่าคุณมีหนังสือเดินทางที่ยังมีอายุ, การอนุญาตให้อยู่ในประเทศ หรือวีซ่าสำหรับประเทศไทยอยู่ด้วยเสมอ 

6. อย่าลืมนำยารักษาโรค และ เอกสารอธิบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นภาษาอังกฤษไปด้วย ตรวจสอบเรื่องวัคซีนต่าง ๆ ก่อนการเดินทางแต่เนิ่น ๆ ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากยุงกัด เช่น ไข้เลือดออก และ มาลาเรีย ดังนั้นจึงควรป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด ความเสี่ยงทางด้านสุขภาพของผู้เดินทางอาจเกี่ยวข้องกับ การมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งควรเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และพกถุงยางอนามัยที่ดีและเหมาะสมไปด้วย ที่ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อ HIV ประมาณหนึ่งล้านคน สามารถรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่าเข้าประเทศไทย และ ใบอนุญาตมีถิ่นพำนักอื่น ๆ ได้จาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮลซิงกิ โทรศัพท์ (09) 612 2640 หรือ เวปไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศของไทย แผนกกงสุล

7. ในประเทศไทย การจราจรถือว่ามีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยเป็นอย่างสูงด้วย การจราจรมีการขับขี่ในเลนซ้าย ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ และ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศฟินแลนด์แล้ว ถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก จึงควรใช้ความระมัดระวังเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และ ขึ้นปีใหม่ จะเกิดอุบัติเหตุทางการจราจรในประเทศไทยสูงมาก ให้คาดเข็มขัดนิรภัย และสวมหมวกนิรภัยเสมอ – เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในประเทศฟินแลนด์!

8. บันทึกหมายเลขบัตรเครดิต และ หมายเลขโทรศัพท์ของคุณเก็บไว้ เพื่อให้สามารถแจ้งกรณีสูญหายได้ อย่าเก็บเงินทั้งหมด และ บัตรเครดิตทั้งหมดไว้ในที่เดียวกัน บัตรเครดิตสามารถใช้ชำระเงินได้ทั่วไปในประเทศไทย และมีเครื่องกดเงินสดอัตโนมัติจำนวนมาก 

9. เข้าเมืองตาหลิ่ว ให้หลิ่วตาตาม – ปฏิบัติตามกฎหมายท้องถิ่น และวิถีปฏิบัติในประเทศ ประพฤติตัวแบบนักเดินทางที่มีความรับผิดชอบ การวิพากวิจารณ์พระมหากษัตริย์และราชวงศ์ รวมทั้งการกระทำผิดอาญาเกี่ยวกับสิ่งเสพติด อาจทำให้เกิดโทษจำคุกเป็นเวลานานได้  

10. สภาพอากาศของประเทศไทยถือว่ามีความหนักต่อระบบของร่างกาย ความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้เดินทางมักจะเกี่ยวกับแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง อย่าลืมดื่มเครื่องดื่มที่ปราศจากแอลกอฮอล์ให้เพียงพอ พยายามอยู่ในที่ร่มในช่วงกลางวัน และ ใช้ครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องแสงแดดสูง

 

ตามแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย และในเมืองหลวง มีการลักขโมยและการหลอกลวงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับมิจฉาชีพ ตรงกับสำนวนที่ว่า "อะไรที่ฟังดูดีเกินจริง มักจะดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้"

ตัวอย่างกรณีการหลอกลวงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยทั่วไป (pdf, 26 KB)

รายละเอียดเพิ่มเติม

• หนังสือพิมพ์ Bangkok Post 

• หนังสือพิมพ์ Nation

• กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย 

• สถาบันสุขภาพและสวัสดิการสังคมแห่งชาติ – การฉีดวัคซีน 

• กรมศุลกากรไทย

 

 

  •